วันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เทพเจ้าแห่งวาจาสิทธิ์หลวงปู่เขียนวัดสำนักขุนเณรพิจิตร

เทพเจ้าแห่งวาจาสิทธิ์ หลวงปู่เขียนวัดสำนักขุนเณรพิจิตร
หลวงพ่อเขียน มีนามเดิมว่า เสถียร จันทร์แสง เกิดเมื่อวันเสาร์ เดือน 4 ปีขาล ตรงกับ พ.ศ.2399 ที่บ้านตลิ่งชัน เมืองเพชรบูรณ์ บิดาชื่อนายทอง มารดาชื่อ นางปลิด บ้านอยู่ติดกับวัดทุ่งเรไรมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 5 คน เป็นชาย 3 คน เป็นหญิง 2 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 3บิดามารดามีอาชีพทำไร่ทำนา และที่พิเศษคือ บิดาของท่านเป็นคนทรงประจำหมู่บ้านซึ่งชาวบ้านทั่วไปเรียกกันว่า "สมุนเจ้าพ่อ"

วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข้อมูลประวัติหลวงพ่อเงิน

ข้อมูลประวัติหลวงพ่อเงิน


ข้อมูลประวัติ
เกิด วันศุกร์ที่ 16 พ.ศ.2353 เดือน 10 ปีฉลู
อุปสมบท ที่วัดตองปู หรือวัดชนะสงคราม กรุงเทพฯ
มรณภาพ วันศุกร์ แรม 11 ค่ำ ปีมะแม พ.ศ. 2462
รวมสิริอายุ ประมาณ 109 ปี
วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม
หลวงพ่อเงิน ท่านได้สร้างและปลูกเสกวัตถุมงคลเอาไว้หลายชนิดทั้งพระรูปหล่อ เหรียญหล่อ พระเนื้อดิน และตะกรุด ที่ได้รับความนิยมสูงสุด และพระที่นิยมในวงการปัจจุบัน คือ รูปหล่อ และเหรียญหล่อ
รูปหล่อหลวงพ่อเงิน เป็นพระเนื้อโลหะผสมประเภททองเหลือง มี 2 พิมพ์ คือ พิมพ์นิยม และพิมพ์ขี้ตา สร้างเมื่อประมาณ ปี พ.ศ.2460 ส่วนเหรียญหล่อหรือเหรียญจอบมีทั้งพิมพ์จอบใหญ่และพิมพ์จอบเล็ก

วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

แนะนำพระสมเด็จ

ในส่วนของพระเครื่องส่วนใหญ่แล้วจะคงเป็นพระกรุเสียมากกว่า เพราะผมเป็นคนชอบพระกรุเก่าๆตั้งแต่ครั้งโบราณกาลที่มีอายุหลายร้อยปี ยิ่งเป็นพระพิมพ์ยืนหรือพิมพ์ลีลาด้วยแล้วชอบมาก จรดกล้องส่องลงครั้งใดให้หวลคิดคำนึงถึงครูบาอาจารย์แต่ครั้งอดีตกาล โอท่านช่างสรรสร้างพระพิมพ์ที่มีความงดงามอ่อนช้อย ทั้งพระพุทธคุณก็เข้มขลังเพราะคนในยุคก่อนนั้นไม่มีพุทธพาณิชย์มีแต่สัจจะวาจาที่ยึดมั่นมิได้หวังในเงินทอง มุ่งหวังให้คนรุ่นหลังได้เข้าถึงในพระรัตนตรัย มีพระเครื่องผูกคอไว้ยามเดินทางรอนแรมก็นำพระออกมาวางเคารพนพไหว้ลำลึกถึงพระพุทธคุณในยามก่อนจะหลับล้มตัวลงนอน แล้วให้สุขใจเป็นยิ่งนักเพราะในการรอนแรมไปในต่างเมืองในยุคนั้นเต็มไปด้วยภยันตราย สิงห์สาราสัตว์และอรสรพิษ หากได้สิ้นชีพลงไปในขณะจิตได้ยึดมั่นในพระรัตนตรัยแล้วอย่างน้อยสุดนี้ ก็ไม่ตกลงอบายภูมิแล้วละ ยามส่องกล้องลงดูองค์พระคราใดก็สุขใจยิ่งนักครูบาอาจารย์นี่ท่านคงมีญาณที่เรียกว่าอนาคตังสญาณ ญาณหยั่งรู้อนาคตเป็นแน่

ส่วนความรู้ในเรื่องของพระสมเด็จวัดระฆัง ในความเห็นส่วนตัวแล้วไม่ยึดติดในแบบพิมพ์ของหลวงวิจารณ์ เพราะผมมีความเชื่อมั่นว่าสมเด็จโตท่านมีชีวิตอยู่ถึง ห้าแผ่นดิน เป็นไปไม่ได้ที่จะมีพระพิมพ์เพียงแค่หลวงวิจารย์เท่านี้ นอกพิมพ์นี้เก๊หรือทุกท่านที่ได้อ่านแล้วคิดอย่างไร ส่วนตัวแล้วผู้ใดจะวิจารณ์อย่างไรไม่สน เฉย เฉยลูกเดียว ของที่หลุดออกมาแล้วได้เช่าหากันในราคาถูกๆนั้นก็เลยมีให้ชมกันอยู่ทุกวันนี้ เชื่อเถอะต้องมีพระพิมพ์ที่ไม่ใช่แต่ของหลวงวิจารณ์แต่อย่างเดียว แบ่งพระสมเด็จวัดระฆังออกเป็น 3ยุค คือ 1.ยุคต้น (ร.2-ร.3 ) 2.ยุคกลาง (ร.3-ร.4) 3.ยุคปลาย (ร.4-ร.5) พระสมเด็จที่ท่านทำขึ้นมาด้วยกรรมวิธีที่พิถีพิถัน ใช้เวลานานและยากลำบากและด้วยความตั้งใจที่แน่วแน่ สร้างขึ้นมาหลายหลายองค์แล้วถูกกำหนดว่า ใช้ได้เพียงพิมพ์ที่นิยมเพียงไม่กี่องค์มันไม่ถูกต้อง ท่านทั้งหลายลองศึกษาจากตำราหลายๆเล่มอย่ายึดมั่นแต่ตำราเพียงเล่มเดียว ศึกษาแล้วใช้วิจารณาญาณส่วนตัวดู ผมขอยกตัวอย่างหนังสือ ทีเด็ดพระสมเด็จ ของท่านอาจารย์ พน นิลผึ้ง ค้นคว้าและเรียบเรียงไว้ถูกใจมาก เนื้อหากว้างขวางข้อมูลไม่คับแคบจนทำให้พระสมเด็จของสมเด็จโตต้องถูกทิ้งขว้างวางเฉย ไม่ได้ถูกนำมาใช้บูชาให้เกิดประโยชน์

ข้อมูลต่อไปนี้คัดลอกมาจากหนังสือ ทีเด็ดพระสมเด็จ ของอาจารย์พน นิลผึ้ง มาเพียงส่วนเดียว

พระสมเด็จทำมาจากอะไรบ้าง

การสร้างพระสมเด็จของพระพุฒาจารย์โต พระหมรังสี ท่านใช้ส่วนประกอบขององค์พระมากมายหลายอย่าง มีทั้งผงวิเศษ หรือผงสมเด็จ หรือผงกฤติยาคม เกษรดอกไม้ร้อยแปดชนิด ว่านยาและว่านมงคล สมุนไพรต่างๆ อัญมณี แร่ธาตุ พระธาตุ พระเก่าโบราณ ของวิเศษที่เป็นมงคล ก้านธูปบูชาพระรัตนตรัย ไม้มงคล ดินโป่ง หินเปลือกหอย ผลไม้ กระยาหาร ข้าวหอม ไคลเสมาไคลเสาตะลุงช้างเผือก ดินสอพอง ปูนตายซาก หมุดเงินทอง ทรายเงินทรายทอง ใบลาน น้ำอ้อย ยางไม้ น้ำมันตังอิ๊ว ผงตะไบพระทอง และของที่เหลือใช้อย่างอื่นอีก

การทำพระสมเด็จของท่านสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ท่านมีวิธีการทำดังนี้

ขั้นที่1 ท่านเอาดินสอพองจากลพบุรีถือว่าเป็นดินที่ขาวบริสุทธิ์ เอามาร่อนแยกเอาสิ่งแปลกปลอมออกจากดินสอพอง ให้เหลือแต่ดินสอพองบริสุทธิ์ ปั้นเป็นท่อนพอหมาดแล้วตัดเป็นแผ่นบางๆตากแดดให้แห้งสนิท

ขั้นที่2 เอาดินสอพองที่หั่นตากแดดแห้งสนิทแล้วเอามาบดให้เป็นผงละเอยดเอาไปตากแดดให้แห้งสนิทอีกครั้ง แล้วแยกผงแป้งดินสอพองออกไปบรรจุใส่บาตร 5 บาตรเท่าๆกัน

ขั้นที่3 เอาดินสอพองในบาตรที่หนึ่ง บริกรรมบรรจุด้วยคาถาบท อิธเจ บาตรที่2 บริกรรมประจุด้วยคาถาบท ตรีนิสิงเห บาตรที่3 บริกรรมปรุด้วยคาถาบท ปัทมัง บาตรที่4 บริกรรมประจุด้วยคาถาบทมหาราช และบาตรที่5 บริกรรมประจุด้วยคาถาบทพุทธคุณ ท่านบริกรรมประจุด้วยคาถาทั้ง 5 บท แต่ละบาตรอยู่ตลอดเวลาด้วยตัวท่านเอง จนเห็นว่าขัลงเพียงพอ

ขั้นที่4 เอาผงทั้ง 5 อย่าง 5 บาตรมารวมกันใส่ในบาตรใหญ่ 1 บาตร แล้วกำกับด้วยคาถา ทั้ง 5 บท อิธเจ - ตรีนิสิงเห - ปัทถมัง - มหาราช - พุทธคุณ พร้อมกันในบาตรใหญ่ เรื่องการบริกรรมคาถาทั้ง 5 บทพร้อมกันนี้ อาจารย์มงคลเล่าว่า ผู้ทำได้จะต้องมีจิตสมาธิแข็งกล้าจริงๆ ไม่เช่นนั้นจะทำให้จิตแตกกลายเป็นบ้าไปได้ บุคคลหรือพระที่ทำได้ในโลกนี้ก็มีเพียงสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี แต่เพียงองค์เดียวเท่านั้น จึงทำให้ผง กฤติยาคมของท่านขลังยิ่งนัก

ขั้นที่5 เอายอดไม้มงคลเช่นยอดตำลึง - ยอดสุดสวาท - ยอดและดอกรักซ้อน - ยอดกาหลง - ยอดทองพันชั่ง - ราชพฤกษ์ - กระแจตะนาว - ยอดใบเงิน - ทอง - นากและอื่นๆอีก เอามาตำให้แหลกละเอียดเอาน้ำพุทธมนต์ 7 บ่อ 7 รสผสมลงไปแล้วตั้นเอาแต่นำไปผสมผง 5 อย่าง แล้วปั้นเป็นแท่งชอล์คเอาไว้เขียนเลขยันต์ เรียกว่าดินสอมหาชัย

ขั้นที่6 เอาดินสอมหาชัยไปเขียนเลขยันต์บนกระดาน แล้วลบเลขยันต์เก็บเอาผงชอล์คหรือดินสอมหาชัย ไว้เอาไปผสมน้ำคั้นยอดไม้มงคลปั้นเป็นแท่งดินสอมหาชัยใหม่ตากให้แห้ง แล้วนำมาเขียนเลขยันต์ในกระดานแล้วลบเลขยันต์เอาผงไปผสมน้ำคั้นยอดไม้มงคลอีก นำมาปั้นเป็นดินสอมหาชัย แล้วเอาไปเขียนเลขยันต์ทำอยู่อย่างนั้นหลายร้อยคาบ หลายร้อยครั้ง จนสุดท้ายผงจากดินสอมหาชัยที่มียางยอดไม้ผสมจะเกาะเป็นเม็ดกลมเวลาเขียนจะร่วนออกมาเป็นเม็ดๆเล็กๆสีขาวขุ่นๆแข็งแกร่งมาก เม็ดผงนี่แหละเรียกว่า ผงสมเด็จหรือกฤติยาคม

ขั้นที่7 ท่านเอาผงกฤติยาคมไปบรรจุไว้ในบาตรและบริกรรมพระคาถาดังกล่าวมาแล้วกำกับตลอดทุกวัน เป็นเวลานานๆ จนท่านมั่นใจว่าขลังดีแล้ว จึงเอามาผสมเนื้อพระและมวลสารอื่นตำผสมทำเป็นเนื้อพระเอาไปพิมพ์พระต่อไป

ท่านทั้งหลายเมื่ออ่านดูวิธีการทำของสมเด็จโตแล้วรู้สึกอย่างไรบ้าง ส่วนตัวผมเองรู้สึกถึงคุณค่าของพระแต่ละองค์ว่าได้มาด้วยความยากลำบาก จะถูกทอดทิ้งไปโดยไร้คุณค่าเนื่องจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ลองหาหนังสือ ทีเด็ดพระสมเด็ด ของอาจารย์ พน นิลผึ้ง มาศึกษากันดู มีข้อมูลอีกมากมายกว้างดี ใจไม่แคบ แล้วใช้วิจารณาญาณดูว่าเป็นไปได้ไหมท่านมีชีวิตอยู่ถึงห้าแผ่นดิน แต่ถูกจำกัดพิมพ์พระแค่หลวงวิจารณ์เท่านั้น นอกพิมพ์นี้เก๊ ท่านอุตส่าห์ทำมาด้วยความยากลำบากแต่ไม่ถูกใช้ประโยชน์ให้เต็มที่มันผิดอยู่นะ ผมเองไม่ได้ต้องการดึงราคาพระนอกพิมพ์ให้มีราคาสูงขึ้นแต่อย่างใด เพียงต้องการให้พระของท่านใช้ประโยชน์ได้เต็ม ไม่ใช่ใช้ได้เพียงส่วนเดียวอีกส่วนเก๊ ดังนั้นท่านทั้งหลายที่มีพระสมเด็จที่พิมพ์ไม่เหมือนของหลวงวิจารณ์ แล้วละก็อย่าเพิ่งทิ้งขว้างใจเย็นๆค่อยๆศึกษาดูก่อนด้วยตัวเอง เขาเรียนจบปริญญาได้เราก็ต้องทำได้ คนอีสานพูดว่า คนคื๊อกั้น ไม่เห็นเขาจะมีสามหรือ สี่ตาเลย เราจะได้มีพระสมเด็จไว้บูชากราบไหว้แบบสุดรักสุดหวงแหนกัน ในราคาที่ไม่ต้องไปเสียเงินกันเป็นแสนเป็นล้าน

วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

หลวงพ่อเงิน


วัดหิรัญญาราม (วัดวังตะโก) บางคลาน จ.พิจิตร

คัดลอกจาก http://www.tumnan.com/father_nerng/history.html

หลวงพ่อเงิน ท่านเกิดเมื่อ วันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๓๕๓ ตรงกับวันศุกร์ เดือน ๑๐ ปีฉลู บิดาชื่อ อู๋ มารดาชื่อ ฟัก ท่านเกิดที่บ้านบางคลาน อำเภอโพธิ์ทะเล จังหวัดพิจิตร บิดาเป็นชาวบางคลาน มารดาเป็นชาวบ้านแสนตอ อำเภอขาณุวรลักษณ์บุรี (แสนตอ) จังหวัดกำแพงเพชร

ตั้งแต่อายุ ๓ ขวบ ได้ไปอยู่กับลุง ชื่อนายช่วง ที่กรุงเทพฯ และได้เข้าเรียนที่ บ้านตองปุ (วัดชนะสงคราม) จังหวัดพระนคร เมื่ออายุได้ ๑๒ (พ.ศ. 2365) ก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรได้ศึกษาธรรมวินัย เวทย์วิทยาการต่างๆ จนแตกฉาน พออายุใกล้อุปสมบทท่านได้สึกจากสามเณรและหลังจาก ได้อุปสมบทแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัดตองปุ (วัดชนะสงคราม) ได้ร่ำเรียนวิปัสสนาอยู่ ๓ พรรษา แล้วมาอยู่วัดคงคาราม (วัดบางคลานใต้) ได้ ๑ พรรษา ขณะนั้นหลวงพ่อพระอุปัชฌาย์ให้เป็นเจ้าอาวาสอยู่ ท่านเป็นพระเรืองวิชา ชอบเล่นแร่ แปลธาตุ แต่หลวงพ่อเงินท่านเคร่ง ธรรมวินัย ชอบความสงบ ท่านจึงได้ย้ายไปอยู่หมู่บ้านวังตะโก ลึกเข้าไปทางลำน้ำเก่า

กล่าวกันว่า....เดิมที่ท่านจากวัดคงคารามไปแล้ว ก็มาปลูกกุฏิด้วยไม่ไผ่มุงหลังคาด้วยแฝกอยู่องค์เดียว และพร้อมกันนั้นได้นำกิ่งโพธิ์มาปักไว้ที่ริมตลิ่ง (หน้าพระอุโบสถ) แล้วอธิษฐานว่าถ้าท้องถิ่นนี้จะเจริญรุ่งเรืองเป็นอารามต่อไป ก็ขอให้โพธิ์ต้นนี้งอกงามแผ่กิ่งก้านสาขาเป็นนิมิตดีต่อไปด้วย และเหตุการณ์ก็เป็นจริงดังอธิษฐานไว้ ซึ่งต่อมาพื้นที่แถบนั้นก็ได้ปรากฏเป็น "วัดวังตะโก" เกิดขึ้น พระอารามแห่งนี้ "หลวงพ่อเงิน" ได้เป็นผู้สร้างไว้เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2377 ต่อมาวัดวังตะโก หรือวัดหิรัญญารามก็เจริญอย่างรวดเร็ว มีผู้คนเคารพนับถือและถวายตัวเป็นศิษย์ ขอมาฟังธรรม ขอเครื่องรางของขลัง และขอให้หลวงพ่อช่วยรักษาโรคให้ ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์และสมณศักดิ์เป็นเจ้าคุณฝ่ายวิปัสสนา

"หลวงพ่อเงิน" นับเป็นพระเกจิอาจารย์ ผู้เลื่องชื่อ ด้านไสยเวทเยี่ยมยอดที่สุดของเมืองพิจิตร จนเมื่อมาอยู่วัดวังตะโดและได้พัฒนาวัดจนรุ่งเรือง เป็นที่รู้จักกันไปทั่วว่า

หลวงพ่อเงินสามารถรู้ผู้มาเยือนด้วยญาณวิเศษได้อย่างมหัศจรรย์ และยังเป็นหมอเชี่ยวชาญในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บให้แก่ชาวบ้านได้อย่างชะงัดอีกด้วย เคยมีผู้ไปลองดีกับท่าน ท่านก็แอ่นอกให้ยิง แต่กระสุนไม่ยอมออกจากลำกล้อง ความศักดิ์สิทธิ์เยี่ยงอัจฉริยะของ "หลวงพ่อเงิน" บางคลาน นับว่าร่ำลือกันไปไกลมาก จนถึงขนาดเสด็จในกรม "กรมหลวงชุมพร เขตอุดมศักดิ์" ก็ยังเสด็จไปฝากตัวเป็นศิษย์ด้วย

ผลงานที่สำคัญ

๑. ด้านการก่อสร้าง หลวงพ่อมักเป็นธุระในเรื่องการสร้างถาวรวัตถุ ท่านเป็นนักก่อสร้าง ท่านควบคุมการก่อสร้างด้วยตนเอง ท่านรวบรวมปัจจัยได้จากการสร้างวัตถุมงคล เงินบริจาค สิ่งที่ท่านชอบสร้างอีกอย่างหนึ่งนอกจากโบสถ์ วิหาร ศาลา ก็คือ ศาลาพักร้อนเพื่อคนสัญจรไปมา

๒. ด้านการรักษาโรคด้วยวิชาแพทย์แผนโบราณ หลวงพ่อเงิน เป็นหมอแผนโบราณ ทางด้านการรักษาโรคภัยไข้เจ็บด้วยยาสมุนไพรหรือบางครั้งก็ใช้น้ำมนต์ ซึ่งก็ให้ผลในด้านกำลังใจ ปัจจุบันยังมีตำรายาและสมุดข่อย ของท่านที่เก็บรักษาไว้ที่วัดบางคลาน

๓. เป็นพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงด้านวิปัสสนา เป็นศิษย์รุ่นเดียวกันกับหลวงพ่อศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท ซึ่งท่านได้ แนะนำให้กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ได้มาเรียนวิชาทางวิปัสสนากับหลวงพ่อ รวมทั้งสมเด็จพระสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ก็เสด็จมาประทับที่วัดวังตะโก อยู่หลายวัน เพื่อเรียนทางด้านวิปัสสนา

๔. พระเครื่องหรือพระพิมพ์ หลวงพ่อไม่นิยมสร้างพระเครื่อง เพราะท่านบอกว่า คงกระพันชาตรีเป็นเรื่องเจ็บตัว พระเครื่องรุ่นที่ หลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่จึงมีน้อย และมีพระคุณานุภาพทรงคุณทางแคล้วคลาดคงกระพันชาตรี เมตตามหานิยม พระเครื่องรุ่นที่ท่านจัดสร้างมี

- หลวงพ่อเงินชนิดกลม (ลอยองค์ มี ๒ ชนิด คือ พิมพ์ขี้ตาและพิมพ์นิยม)

- หลวงพ่อเงินชนิดแบนหรือสามเหลี่ยมหน้าจั่ว

- หลวงพ่อเงินชนิดสามเหลี่ยมหน้าจั่วไข่ปลา

- พระเจ้าห้าพระองค์

ท่านมีโรคประจำตัว คือโรคริดสีดวงทวาร ท่านรักษาตัวเองบางครั้งก็หาย บางครั้ง ก็กลับเป็นอีก ท่านเคยกล่าวว่า "คนอื่นร้อยพันรักษาให้หาย แต่ผงเข้าตาตัวเองกลับรักษาไม่ได้" ท่านมรณภาพ เมื่อวันศุกร์ แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีมะแม ตรงกับ พ.ศ.๒๔๖๒ อายุได้ ๑๐๙ ปี

เรื่องพระพระ

พบพระเครื่องดังดังทั่วประเทศได้ที่นี่เร็วเร็วนี้